เขียนโดย อ.กิจขจร ลิ่วเฉลิมวงศ์ วันที่ 10 พ.ค. 2025
บริบททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ผู้เขียนและผู้รับ
เปาโลเป็นผู้เขียนจดหมายฝากฟีลิปปี ซึ่งอาจจะเขียนพร้อมด้วยความช่วยเหลือจากทิโมธี (ฟีลิปปี 1:1; 2:19) เปาโลเป็นคนเชื้อสายยิว ถือสัญชาติโรมัน เกิดที่เมืองทาร์ซัส แคว้นซิลิเซีย เรียนหนังสือจบจากสำนักของอาจารย์กามาลิเอลที่มีชื่อเสียง ท่านเป็นคนเคร่งครัดในศาสนายิวอย่างมาก (กิจการฯ 22:3, ฟีลิปปี 3:6) และเพราะความหลงผิดท่านได้ทำการกดขี่ข่มเหงคริสเตียน ขณะที่กำลังเดินทางไปเมืองดามัสกัสเพื่อข่มเหงผู้เชื่อพระเยซู ขณะนั้นท่านได้พบการทรงเรียกของพระเจ้า (กิจการฯ 9:3) และตาของท่านมืดบอดไปถึงสามวัน ต่อมาได้รับการอธิษฐานวางมือจากอานาเนีย ตาของท่านก็หายบอด (กิจการฯ 9:17) และท่านก็ถวายตัวรับใช้พระเยซูคริสต์อย่างสิ้นสุดชีวิตจนวาระสุดท้ายของท่าน
ทิโมธี เป็นทีมงานรับใช้พระเจ้าและเป็นเสมือนลูกในฝ่ายวิญญาณของเปาโล ทิโมธีเป็นลูกครึ่ง แม่เป็นยิว พ่อเป็นกรีก ทิโมธีน่าจะกลับใจเป็นคริสเตียนหลังจากที่เปาโลเดินทางไปประกาศที่เมืองลิสตรา ในการเดินทางพันธกิจเที่ยวแรก และเป็นคนมีชื่อเสียงดีในหมู่พี่น้องคริสเตียนในเมืองลิสตราและเมืองอิโคนียูม (กิจการฯ 16:1-5) แม่และยายของทิโมธีได้อบรมเขาตามแบบยิวให้รู้จักพระวจนะพระเจ้าเป็นอย่างดี (2ทิโมธี 1:5; 3:15)
จดหมายฝากนี้เขียนไปถึงคริสตจักรที่เมืองฟีลิปปี (ฟีลิปปี 1:1) ซึ่งเปาโลเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่การเดินทางพันธกิจครั้งที่สอง (กิจการฯ 16) และคริสตจักรฟีลิปปีเป็นคริสตจักรแรกในแผ่นดินยุโรป ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นมาซิโดเนียของจักรวรรดิโรมัน
วัตถุประสงค์ของการเขียน
เปาโลเขียนจดหมายฝากไปถึงคริสตจักรที่เมืองฟีลิปปีเพื่อ
• ขอบคุณคริสเตียนชาวฟีลิปปีที่ส่งของขวัญมาช่วยเหลือท่านยามขัดสน (ฟีลิปปี 2:25; 4:10-18)
(ฟีลิปปี 2:25) “ข้าพเจ้าเห็นว่าจำเป็นจะต้องส่งเอปาโฟรดิทัสไปหาพวกท่าน เขาเป็นทั้งพี่น้อง เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนทหารของข้าพเจ้า และยังเป็นตัวแทนที่พวกท่านส่งมาปรนนิบัติข้าพเจ้าในยามที่ข้าพเจ้าขาดแคลน”
• หนุนใจให้คริสตจักรมีความกล้าหาญและเชื่อมั่นในพระเจ้า (ฟีลิปปี 1:20-21, 27-28)
• วิงวอนให้มีท่าทีสุภาพอ่อนโยน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และไม่ให้ความทะเยอทะยานอย่างเห็นแก่ตัวและความหยิ่งเข้าครอบงำ เพราะในขณะนั้นมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นในผู้นำคริสตจักร (ฟีลิปปี 4:2-3)
• ตักเตือนไม่ให้หลงไปตามคำสอนเท็จที่กำลังแพร่เข้ามาในคริสตจักร แต่ให้ยึดถือชีวิตที่เป็นของประทานแห่งพระคุณจากพระเจ้า ซึ่งได้มาทางความเชื่อไม่ใช่ทางธรรมบัญญัติ (ฟีลิปปี 3:2,9)
ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
พระธรรมฟีลิปปีเป็นจดหมายฝาก 1ใน 4 ฉบับ (เอเฟซัส โคโลสี ฟีเลโมน ฟีลิปปี) ที่เปาโลเขียนขึ้นและส่งไปถึงคริสตจักรที่ท่านบุกเบิกก่อตั้ง ครั้งเมื่อถูกจองจำอยู่ในกรุงโรมครั้งที่ 1 ราวปี ค.ศ. 60-62 น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ท่านถูกคุมขังหรือถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านที่ท่านเช่าในกรุงโรมเป็นเวลาสองปี ท่านมีโอกาสต้อนรับบรรดาผู้คนที่มาหาและประกาศข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ด้วย (กิจการฯ 28:30-31)
เปาโลเขียนจดหมายฝากฟีลิปปีขึ้นด้วยความชื่นชมยินดีและความมั่นใจโดยความเชื่อที่มีอยู่ในพระเยซูคริสต์ แสดงให้เห็นความรักที่เปาโลมีต่อคริสตจักรที่ฟีลิปปีอย่างลึกซึ้ง แม้ขณะที่เขียนจดหมายฝากนี้ ท่านเผชิญปัญหาการต่อต้านจากผู้รับใช้พระเจ้าด้วยกัน เผชิญกับการข่มเหงต้องถูกจองจำเพราะการประกาศข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ และท่านยังมีความทุกข์ใจเกี่ยวกับคำสอนเท็จที่กำลังแพร่เข้ามาในคริสตจักรที่ฟีลิปปีอีกด้วย พบคำว่า “ชื่นชมยินดี” ปรากฏในจดหมายฝากนี้ 4 ครั้ง ฟป.1:25; 3:1; 4:4,10 คำว่า “ยินดี” ปรากฏในจดหมายฝากนี้ 12 ครั้ง ฟป.1:4,18,25; 2:2,17,18,28,29; 3:1; 4:1,4,10
บริบททางวรรณกรรม
พระธรรมฟีลิปปีเป็นจดหมายฝากที่เปาโลเขียนไปถึงคริสตจักรที่เมืองฟีลิปปีด้วยบรรยากาศของความชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง (ฟีลิปปี1:4) แม้ขณะที่เขียนจดหมายฉบับนี้ ท่านกำลังถูกคุมขังอยู่ในกรุงโรม
(ฟีลิปปี 1:7) เพื่อรอคอยการพิจารณาคดีของท่าน หลังการยื่นถวายฎีกาให้กับ ซีซาร์ (กิจการฯ 25:10-12)
เปาโลเริ่มต้นจดหมายฝากด้วยคำทักทายที่มีไปถึงธรรมิกชน ผู้ปกครอง และมัคนายกที่คริสตจักรฟีลิปปี (ฟีลิปปี 1:1-2) ท่านมีความยินดีมาจากการรู้สึกขอบคุณคริสตจักรฟีลิปปีที่มีส่วนร่วมกับท่านในงานพันธกิจมาตั้งแต่แรกจนถึงวันที่เขียนจดหมายมานี้ (ฟีลิปปี1: ข้อ3-8) คริสตจักรฟีลิปปีเป็นคริสตจักรที่ท่านได้ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในแคว้นมาซิโดเนียของจักรวรรดิโรมัน และเป็นคริสตจักรเดียวที่มีส่วนถวายสนับสนุนงานพันธกิจของท่านในช่วงแรก ๆ (ฟป.4:15-16) ท่านอธิษฐานเผื่อคริสตจักรให้จำเริญขึ้นในความรักและบริบูรณ์ด้วยผลของความชอบธรรม (ฟีลิปปี 1:9-11)
เปาโลเล่าความเป็นไปในปัจจุบันที่ถูกคุมขัง และความคาดหวังในการช่วยกู้จากพระเจ้าไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือจะต้องตาย ในฟีลิปปี 1:12-26 และพูดขอความร่วมมือให้ดำเนินชีวิตสมกับข่าวประเสริฐของพระคริสต์ในฟีลิปปี 1:27- 4:9 คือ
(1) ให้มีชีวิตที่คู่ควรเพราะเห็นแก่พระคริสต์ (ฟีลิปปี 1:27-30)
(2) ให้มีเอกภาพเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยมีใจถ่อมแบบพระเยซูคริสต์ (ฟีลิปปี 2:1-18) และมีเอกภาพในเพื่อนผู้ร่วมงานในพระคริสต์ คือให้ต้อนรับทิโมธีและเอปราโฟรดิทัส (ฟีลิปปี 2:19-30)
(3) ให้ทุกคนมีชีวิตที่มั่นคงแน่วแน่ในความเชื่อ (ฟีลิปปี 3:1- 4:1) ในข้อ 2-7 เตือนให้ระวังคำสอนเท็จที่มาจากพวกยิวที่ถือลัทธิยูดานิยม ที่กำลังพยายามชักชวนคนต่างชาติที่กลับใจมาเป็นคริสเตียนให้เข้าสุหนัต อันเป็นการหันไปหาความไว้วางใจในเนื้อหนังไม่ใช่พระเยซูคริสต์ ข้อ 8-11 พูดถึงเป้าหมายที่มีคุณค่าที่สุดคือพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้า อันนำมาสู่ความต้องการที่จะรู้จักพระคริสต์อย่างสมบูรณ์
ข้อ 12-17 เปาโลพูดถึงการบากบั่นมุ่งไปสู่เป้าหมายของชีวิตคริสเตียนคือพระเยซูคริสต์ และคำกำชับให้รับเอาท่าทีของท่านเป็นแบบอย่าง ซึ่งเป็นตอนของการทำธรรมกถานี้ จากนั้นท่านกล่าวว่าให้รอคอยการเสด็จกลับมาขององค์พระผู้เป็นเจ้าและให้ยืนหยัดมั่นคงในพระเจ้าในฟีลิปปี 3:18- 4:1
ในตอนท้ายท่านการตักเตือนให้ปรองดองกันและรักษาสันติสุขในพระเยซูคริสต์ ในฟีลิปปี 4:2-9
ฟีลิปปี 4: ข้อ10-20 เป็นทส่งท้ายของพระธรรม เปาโลกล่าวตอบรับเรื่องของฝากจากชาวฟีลิปปีโดยพูดถึงการให้และการรับ
และในฟีลิปปี 4: ข้อ 21-23 จบด้วยคำทักทายสุดท้ายและคำอวยพร
เนื้อหาหลักของพระธรรมฟีลิปปี 3:1-11 เป้าหมายชีวิตของเปาโล คือ พระเยซูคริสต์ ตอนที่ 1 ขาดทุนคือกำไร
คำนำ
ฟป3:1 “สุดท้ายนี้ พี่น้องของข้าพเจ้า จงชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าจงชื่นชมยินดี” อ.เปาโลเริ่มต้นของบทที่สามนี้ด้วยคำว่า
“สุดท้ายนี้” เป็นการย้ำว่าเรื่องที่พูดมาก่อนหน้านี้กำลังจะจบ และกำลังจะเริ่มเรื่องใหม่ เป็นการเตรียมใจผู้อ่านก่อนว่า ให้ชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้า หลังจากที่ได้รับฟังเรื่องต่อจากประโยคนี้ไป คือ เรื่องขาดทุนคือกำไร ซี่งดูเหมือนจะฟังง่าย แต่เข้าใจยากและปฎิบัติได้ยาก
1.ขาดทุนเพื่อพระคริสต์ (7-8)
อ.เปาโลนำเสนอเรื่องที่ค้นพบใหม่ซึ่งก่อนหน้านั้นดูเหมือนว่าเป็นค่านิยมที่ดีมากๆแต่เมื่อพบพระเยซูคริสต์เปาโลพบว่าพระองค์มีคุณค่ามากกว่าส่ิงที่อ.เปาโลมีและส่ิงที่อ.เปาโลเป็นในอดีตก่อนรู้จักพระเยซูคริสต์
การขาดทุนเพื่อพระคริสต์ในที่นี้จึงเป็นการพยายามอธิบายของ อ.เปาโลให้พี่น้องที่ฟีลิปปีเข้าใจว่าการที่มีคนยิวมาสอนว่าพระคริสต์ไม่เพียงพอกับความชอบธรรมและความรอดต้องเข้าสุหนัตต้องถือธรรมบัญญัติและต้องถวายบูชาแบบยิวก่อนจึงจะนับว่าเป็นคนชอบธรรมและได้ความรอดทางพระเยซูคริสต์
เปาโลจึงยกตัวอย่างชีวิตของท่านดีกว่าพวกที่มาสอนผิดๆแบบนี้ข้อ3 “เพราะว่าเราต่างหากที่เป็นพวกเข้าสุหนัต เป็นพวกที่นมัสการโดยพระวิญญาณของพระเจ้า อวดพระเยซูคริสต์ และไม่ไว้ใจในเนื้อหนัง”
ทั้งๆที่ท่านดีกว่าพวกสอนผิดมากๆ ท่านยังทิ้งส่ิงเหล่านั้น คือ ธรรมบัญญัติ การถวายบูชา และการเข้าสุหนัต หรือความเป็นยิว รวมถึงส่ิงดีที่ท่านมีและสิ่งดีที่ท่านเป็น ตามค่านิยมคนยิวในเวลานั้น เพื่อเห็นแก่พระคริสต์เลย แล้วพี่น้องฟีลิปปีจะไปเสียเวลาฟังคำสอนพวกยิวที่สอนผิดทำไม ฟังท่านดีกว่า
ก่อนหน้าพบพระเยซูคริสต์เปาโลมองชีวิตตนเองมีคุณค่าสูงมากภูมิใจในตนเองมากแต่เมื่อพบพระเยซูคริสต์ส่ิงเหล่านั้นที่ท่านเคยภูมิใจกับมันมากท่านเห็นว่ามันไม่มีประโยชน์อะไรเลยอีกต่อไปเพราะทำให้ท่านเป็นคนชอบธรรมไม่ได้ทำให้ท่านรับความรอดไม่ได้
คนทั่วไปอาจมองอ.เปาโลที่ทิ้งสิ่งเหล่านั้นเป็นการขาดทุนแต่เปาโลยอมขาดทุนเพื่อจะได้พระคริสต์คือยอมทิ้งส่ิงที่ตนเองมีส่ิงที่ตนเองเป็นเพื่อจะได้พระคริสต์เพราะอะไร?
1.1 พบคุณค่าใหม่ของพระคริสต์ (7)
ข้อ 7 “แต่ว่าอะไรที่เคยเป็น กำไร(2771) ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ถือว่าสิ่งนั้นเป็นการขาดทุน(2209)แล้วเพราะเหตุพระคริสต์”
(อ้างอิงกนกบรรณสาร. พระคัมภีร์ใหม่ ฉบับศึกษาคำกรีก และ พจนานุกรม กรีก-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร, 2005. (หน้า268))
คำว่า “กำไร” (2771) 2771 kérdos – gain (profit), acquired through “faith-trading.” (ภาษากรีกมาจากคำว่า kerdos เคอร์ดอส) มีความหมายว่า การได้มา การได้กำไร หรือผลประโยชน์ ที่ได้ผ่านการแลกเปลี่ยนความเชื่อ ใช้คำว่า “คุณประโยชน์” ใน ฟป3:7 ฉบับ 1971
(อ้างอิงกนกบรรณสาร. ศัพท์สัมพันธ์ กรีก-ไทย และดัชนี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร, 2005.(หน้า320))
เปาโลกำลังบอกผู้อ่านว่าในอดีตส่ิงที่เขามีหรือเขาเป็นนั้นเป็นส่ิงที่มีคุณประโยชน์กับเขา (แม้ว่าอ.เปาโลจะกลับไปแก้ไขอะไรในอดีตไม่ได้แล้วก็ตามทั้งที่จริงๆแล้วสิ่งนั้นคนอื่นๆก็ยังดูเขาเป็นคนที่มีคุณค่าจากส่ิงที่เปาโลเป็นและสิ่งที่เปาโลมีอยู่ดีแต่ตัวเปาโลเองต่างหาก ที่เห็นสิ่งเหล่านั้น มีคุณค่าด้อยลงไปจากเดิม หรือแตกต่างจากคนอื่น)
คำว่าขาดทุน (2209) Cognate: 2209 zēmía – damage (detriment); a mercantile term for “loss“; a “bad deal” (unsuccessful business transaction) which results in a fine (penalty, forfeiture). (ภาษากรีกมาจากคำว่า เศเมีย (Zemia)) มีความหมายว่า ความเสียหาย ขาดทุน ถูกปรับค่าเสียหาย ใช้คำว่า “ไร้ประโยชน์” ในฟป3:7 ฉบับ 1971
เหตุผลที่เปาโลมองว่าส่ิงดีที่เขาเป็นและเขามีกลายเป็นส่ิงที่เสียหายขาดทุนเพราะเทียบคุณค่ากับพระคริสต์ไม่ได้แม้แต่น้อยนี่คือมุมมองใหม่ถ้าไม่พบพระคริสต์เขาจะไม่คิดแบบนี้แน่นอน
ประยุกต์ใช้ เราต้องเห็นคุณค่าพระคริสต์มากขึ้น เปลี่ยนความคิดการให้คุณค่าของโลกนี้ เป็นคุณค่าของพระคริสต์อย่างถูกต้องมากขึ้น
ให้คุณค่ากับความเติบโตฝ่ายวิญญาณสร้างความสัมพันธ์กับพระเจ้ามากขึ้น เข้าใจคนอื่นมากขึ้นการที่เขาจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีของพระเจ้าได้ก็ต่อเมื่อเขาได้พบพระคริสต์เท่านั้นไม่ใช่ความสามารถความพยายามหรือความตั้งใจของเราอย่างเดียวเท่านั้น
1) คุณค่าเดิมก่อนพบพระคริสต์ (3-6)
มนุษย์เรามีค่านิยม มีวัฒนธรรมประเพณี ที่เห็นคุณค่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเห็นอะไรว่าดี หรือไม่ดี อ.เปาโลก่อนพบพระเยซูคริสต์ท่านก็มีความภูมิใจในคุณค่าของตนเองในส่ิงที่ท่านมี และส่ิงที่ท่านเป็นตามแบบคนยิว
1.1) ภูมิใจในส่ิงที่ตนเองมี(โดยการกำเนิด)
ข้อ 5 ข้าพเจ้าเข้าสุหนัตในวันที่แปดที่คลอดมา เป็นชนชาติอิสราเอล อยู่ในเผ่าเบนยามิน เป็นชาวฮีบรูที่เกิดจากคนฮีบรู
รวมความหมายถึง ความภูมิใจในชาติกำเนิดเป็นยิวแท้ มาจากเผ่าที่มีเกียรติ ดำเนินชีวิตตามประเพณียิว พูดภาษาฮีบรู
1.2) ภูมิใจในส่ิงที่ตนเองเป็น (โดยการกระทำ)
ข้อ 5ข ในด้านธรรมบัญญัติก็อยู่ในคณะฟาริสี
ข้อ 6 ในด้านความกระตือรือร้นก็ได้ข่มเหงคริสตจักร
ในด้านความชอบธรรมตามธรรมบัญญัติก็ไม่มีที่ติ
รวมความหมายถึง เป็นคนประพฤติตนดีมากๆ ไม่มีที่ติ
(อ้างอิงโรเบิร์ติ พี.ไลท์เนอร์ . กาลาเทีย- 2เธสะโลนิกา (ชุดBKC เล่มที่18 : ฟีลิปปี)(หน้า157). พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: ศูนย์ทีรันนัส(สำนักพิมพ์ จีพี), 1969.)
ประยุกต์ใช้ เราต้องดำเนินชีวิตอย่างคนของพระเจ้าในโลกนี้ ไม่ต้องกังวลเรื่องชาติกำเนิด การศึกษาของตน ไม่ต้องภูมิใจหรือเสียใจกับอดีตของตนเอง ไม่ต้องไปเปรียบเทียบชีวิตของตนเองกับคนอื่นเพราะไม่มีประโยชน์อะไร ไม่ต้องแสวงหาการยอมรับหรือความนิยมชมชอบจากผู้อื่นเว้นแต่พระคริสต์องค์เดียว
ให้กระตือรือร้นในการรับใช้ผู้อื่นรับใช้พระเจ้ามากขึ้นช่วยเหลือผู้คนมากขึ้นดำเนินชีวิตด้วยผลพระวิญญาณบริสุทธิ์
2) คุณค่าเดิมทำให้ไม่พบพระคริสต์ (1-2)
เพราะความเชื่อแบบเดิม ค่านิยมเดิม วัฒนธรรมประเพณีเดิม บางครั้งขัดขวาง ทำให้คนทั่วๆไปไม่เห็นคุณค่าพระคริสต์แบบที่ควรจะเป็น อ.เปาโล จึงกำชับให้สื่อสารทำความเข้าใจคุณค่าที่ถูกต้อง และให้ระวังคำสอน และพวกคนที่ทำให้คุณค่าของพระคริสต์ดูด้วยคุณค่า หรือให้พระคริสต์ไม่มีคุณค่าเลย โดยให้สื่อสาร และให้ระวัง
2.1) ให้สื่อสาร (1)
“การเขียนข้อความเหล่านี้ถึงท่านทั้งหลายซ้ำอีกไม่ใช่เรื่องลำบากสำหรับข้าพเจ้า และยังเป็นเรื่องปลอดภัยสำหรับท่าน” เปาโลเขียนถึง เพราะต้องการจะสื่อสารให้พี่น้องฟีลิปปี รู้ข้อมูล ให้เข้าใจข้อมูล เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้รับ ถ้าไม่สื่อสาร ถ้าไม่สอนออกไป เรื่องสำคัญบางอย่างอาจสร้างความเสียหายใหญ่หลวงได้ โดยเฉพาะเรื่องคำสอนผิด และการคบค้ากับพวกสอนผิด จะทำให้เราออกห่างจากทางของพระเจ้าได้หากไม่ระมัดระวัง
2.2) ให้ระวัง (2)
“จงระวังพวกสุนัขจงระวังพวกที่ทำชั่วจงระวังพวกเชือดเนื้อเถือหนัง” เปาโลเน้นย้ำอย่างมากสำหรับคำสอนที่ผิดกับพวกสอนผิดในที่นี้จงระวังพวกสุนัข จงระวังพวกที่ทำชั่ว จงระวังพวกเชือดเนื้อเถือหนัง รวมความ หมายถึง ให้ระวังพวกที่สอนว่ามนุษย์จะได้รับความรอดก็ต่อเมื่อเข้าสุหนัต เสริมเข้าไปเมื่อเชื่อพระเยซูคริสต์ คนยิวเรียกคนต่างชาติว่าสุนัข ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ที่ไม่สะอาด เปาโลใช้คำนี้เรียกพวกบิดเบือนคำสอน สิ่งที่พวกเขาทำเป็นสิ่งชั่วร้าย แม้เจตนาดี
กท2:15-16 “เราผู้เป็นยิวโดยกำเนิดไม่ใช่คนบาปที่มาจากคนต่างชาติ 16 ยังรู้ว่าไม่มีใครถูกชำระให้ชอบธรรมได้โดยการประพฤติตามธรรมบัญญัติแต่โดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์เท่านั้นเราเองก็ได้เชื่อในพระเยซูคริสต์”
ประยุกต์ใช้ เราต้องสอนคริสตชนให้รู้จักเรื่องข่าวประเสริฐแท้ มาทางความเชื่อในพระเยซูคริสต์ ทำให้เราเป็นคนชอบธรรม ทำให้เรารับความรอด ไม่ใช่ความประพฤติดีของเรา
สอนให้ถูกต้องเสมอตามพระคัมภีร์สื่อสารกับคริสตชนให้สามัคคีธรรมกับคนต่างๆอย่างระมัดระวังโดยเฉพาะพวกสอนผิดพวกลัทธิเทียมเท็จต่างๆพยายามสอนให้คริสตชนคิดเป็นคิดได้ถูกต้องแยกแยะคำสอนถูกคำสอนผิดได้
1.2 ยอมขาดทุนเพื่อพระคริสต์ (8)
เมื่อเข้าใจความจริงทั้งหมดนี้เปาโลยอมขาดทุนเพื่อพระคริสต์แต่ความจริงมีหลายๆคนเข้าใจความจริงในเรื่องคุณค่าของพระเยซูคริสต์ที่ทำให้เราเป็นคนชอบธรรมและได้รับความรอดแบบอ.เปาโลแต่อาจไม่ยอมขาดทุนไม่ยอมละทิ้งความภูมิใจในอดีตเพื่อจะได้พระคริสต์ก็ได้
“ยิ่งกว่านั้นข้าพเจ้าถือว่าทุกสิ่งเป็นการขาดทุน เพราะเหตุคุณค่าอันสูงยิ่งของการได้รู้จัก(1108)พระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า เพราะเหตุพระองค์ข้าพเจ้ายอมขาดทุนทุกอย่าง และถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเหมือนเศษขยะ(4657)เพื่อว่าข้าพเจ้าจะได้พระคริสต์เป็นกำไร”
คำว่า “รู้จัก” (1108) 1108 /gnṓsis (“applied-knowledge”) is only as accurate (reliable) as the relationship it derives from (ภาษากรีกมาจากคำว่า กะโนซิซ (gno’-sis)) หมายถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ ซึ่งเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ต่อกันของความถูกต้อง กับความน่าเชื่อถือ ใช้คำว่า “ความรู้” ในฟป3:8 ฉบับ 1971
เปาโลสามารถประยุกต์ใช้ความรู้พระคริสต์ว่าความรอดที่พระคริสต์ทำให้ความชอบธรรมที่พระองค์ประทานให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือทำให้เขาสามารถดำเนินชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งธรรมบัญญัติได้เพราะเขาพึ่งพระเยซูคริสต์ผ่านทางความเชื่อพระองค์เป็นผู้เดียวที่ทำได้ไม่มีใครทำแทนพระองค์ได้
1คร1:30 “โดยพระองค์ท่านทั้งหลายจึงอยู่ในพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นพระปัญญาจากพระเจ้าสำหรับเราทรงเป็นผู้ทำให้เราชอบธรรมทรงเป็นผู้ชำระเราให้บริสุทธิ์และทรงเป็นผู้ไถ่บาป”
คำว่า “เศษขยะ” (4657)4657 skýbalon (from 2965 /kýōn, “dog” and 906 /bállō, “throw”) – properly, waste thrown to dogs, like filthy scraps of garbage (table-scraps, dung, muck, sweepings); (figuratively)refuse, what is good-for-nothing except to be discarded (used only in Phil 3:8). (ภาษากรีกมาจากคำว่า “สุนัข” กับคำว่า “ขว้าง โยน” (ซคูบาลอน) ใช้เพียงครั้งเดียวตลอดพันธสัญญาใหม่ มีความหมายว่า เศษขยะที่ถูกโยนไปให้สุนัข เช่น เศษขยะที่สกปรก เศษมูลสัตว์ เศษโคลน เปรียบเทียบเหมือนกับ ไม่มีอะไรดีเลยนอกจากจะทิ้ง ใช้คำว่า “หยากเยื่อ” ในฟป3:8 ฉบับ 1971
เปาโลเปรียบเทียบสิ่งที่ตนเองมีและเป็นในอดีต ได้อย่างประชดประชันพวกยิวที่มาสอนผิดๆในฟีลิปปี เหมือนสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าดี แท้จริงเป็นแค่ขยะ เป็นมูลสัตว์ เป็นเศษโคลนที่เหมาะกับสุนัข เพราะยิวมองคนต่างชาติเป็นสุนัข และบางครั้งคริสเตียนยิวก็มองคริสเตียนต่างชาติที่ไม่เข้าสุหนัต ไม่ถือธรรมบัญญัติ ไม่ถวายบูชา เป็นเหมือนสุนัข แต่ครั้งนี้เปาโลกับบอกว่า สิ่งที่พวกเขาเห็นว่ามีค่ามากๆ ควรภูมิใจมากๆ คือความเป็นยิว เปาโลกับบอกว่า สิ่งนั้นเป็นเหมือนขยะสำหรับพวกเขา แสดงว่าพวกเขานั่นแหละ ที่เป็นสุนัข
ประยุกต์ใช้ คนที่เห็นคุณค่าพระคริสต์มากขึ้น เพราะเขารู้ว่าพระองค์ทำให้เราเป็นคนชอบธรรมและรับความรอดได้ พระองค์เป็นผู้เดียวที่ทำได้ ถ้าใครไม่เชื่อพระคริสต์แบบนั้นจริงๆ เขาจะไม่เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เขาจะเปลี่ยนเมื่อพบว่าพระองค์มีค่าสูงยิ่งกว่าสิ่งที่เรามีและเราเป็น เขาก็จะเปลี่ยนความคิดในการดำเนินชีวิตในโลกนี้ใหม่ ไม่อยู่เพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้น แต่อยู่เพื่อพระคริสต์มากขึ้น
คาดหวังส่ิงที่ดีจากพระเจ้าที่ทำให้เรารู้จักและรักพระคริสต์มากขึ้น
ไม่ควรคาดหวังแต่เพียงพระพรจากพระเจ้าอย่างเดียว หรือความสำเร็จของโลกนี้ให้ เช่น เกียรติยศ วัตถุสิ่งของ ลาภ ยศ ชื่อเสียง เงินทอง ความสำเร็จ การยอมรับ ความสุขสบาย การงานมั่นคง ครอบครัวอบอุ่นมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ ไม่มีศัตรู มีแต่ความร่มเย็นสงบสุข
ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ส่ิงเดียวที่เราคาดหวังจากพระเจ้าแต่ให้เป็นอย่างหลังส่ิงแรกที่คาดหวังคือรู้จักพระคริสต์ให้มากขึ้น

2. กำไรเพราะพระคริสต์ (9-11)
2.1 พระคริสต์ประทานกำไร (9)
“และจะได้เห็นว่าข้าพเจ้าอยู่ในพระองค์ ไม่มีความชอบธรรมที่ได้มาจากธรรมบัญญัติ มีแต่ที่ได้มาโดยความเชื่อในพระคริสต์ คือความชอบธรรมที่มาจากพระเจ้าโดยความเชื่อ”
ภ.กรีกข้อ9 แปลขยายความต่อมาจาก ข้อ8 “ข้าพเจ้าจะได้พระคริสต์เป็นกำไร” แปลข้อ9ได้ว่า และ กำไรในที่นี้ ถูกพบในพระองค์ ไม่ใช่ถูกพบในความชอบธรรมของข้าพเจ้าที่ทำตามธรรมบัญญัติ แต่ได้มาโดยความเชื่อในพระคริสต์ คือความชอบธรรมที่มาจากพระเจ้าโดยความเชื่อ
ต่อเนื่องจากยิวที่คิดว่า ความชอบธรรมที่พระเยซูคริสต์ทำให้ไม่เพียงพอ พวกเขาจึงต้องรักษาธรรมบัญัติด้วยถึงจะชอบธรรมอย่างสมบูรณ์ เปาโลชี้ให้เห็นว่า การได้พระคริสต์เป็นกำไร เพราะพระคริสต์ต่างหาที่ทำให้เป็นคนชอบธรรม ไม่ใช่เราทำเอง เราแค่รับไว้ด้วยความเชื่อเท่านั้น นี่คือ กำไร เป็นส่ิงที่พระเจ้าทำได้ ไม่มีใครทำแทนพระองค์ได้
รม1:17 “เพราะว่าในข่าวประเสริฐนั้น ความชอบธรรมซึ่งเกิดมาจากพระเจ้าก็ได้สำแดงออกโดยความเชื่อ และเพื่อความเชื่อ ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า “คนชอบธรรมจะมีชีวิตดำรงอยู่โดยความเชื่อ”
รม10:1-4 พี่น้องทั้งหลาย ความปรารถนาในจิตใจของข้าพเจ้าและคำวิงวอนขอต่อพระเจ้าเพื่อคนอิสราเอลนั้น คือขอให้เขาได้รับความรอด 2ข้าพเจ้าเป็นพยานให้เขาว่า พวกเขามีความกระตือรือร้นที่จะปรนนิบัติพระเจ้า แต่ไม่ได้เป็นตามปัญญา 3เพราะว่าเขาไม่รู้จักความชอบธรรมของพระเจ้า แต่อุตส่าห์ตั้งความชอบธรรมของตนขึ้น พวกเขาจึงไม่ยอมอยู่ในความชอบธรรมของพระเจ้า 4เพราะว่าพระคริสต์ทรงเป็นจุดจบของธรรมบัญญัติ เพื่อให้ทุกคนที่มีความเชื่อได้รับความชอบธรรม
ประยุกต์ใช้ ตั้งใจถวายเกียรติพระเจ้าในการดำเนินชีวิต และการรับใช้ ประกาศตัวเป็นคนของพระเจ้าให้คนทั้งหลายรู้เพื่อเขาจะมีความหวังในการรับความรอดจากพระเจ้าได้
ไม่ได้ทำดีเพื่อจะรอดจากการพิพากษา แต่เพราะเชื่อในพระเยซู โดยขอรับความชอบธรรมของพระเจ้าโดยความเชื่อ เวลาเจอใครที่พฤติกรรมไม่ดีก็ให้เข้าใจว่าเขาทำดีเองไม่ได้ เขาทำบาปโดยธรรมชาติบาป พระเยซูที่เขารับไว้ด้วยความเชื่อเท่านั้น จะเปลี่ยนแปลงความคิด ชีวิต และพฤติกรรมใหม่ได้ เพื่อเขาจะได้ถวายเกียรติพระเจ้า และนำคนมาคืนดีกับพระเจ้าทางพระเยซู
2.2 รับกำไรได้เพิ่มขึ้น (10-11)
ข้าพเจ้าต้องการจะรู้จัก(1097)พระองค์คือรู้จักฤทธิ์เดชแห่งการคืนพระชนม์ของพระองค์และรู้จักการมีส่วนร่วมในความทุกข์ของพระองค์และเป็นเหมือนกับพระองค์ในความตายนั้น 11ทั้งมุ่งหวังที่จะได้เป็นขึ้นจากความตายด้วย
คำว่า “รู้จัก” (1097)1097 ginṓskō – properly, to know, especially through personal experience (first-hand acquaintance) (ภาษากรีกมาจากคำว่า กิโนสโค (ginṓskō)) หมายถึง เพื่อจะรู้ เป็นพิเศษผ่านการมีประสบการณ์ด้วยตนเอง เหมือนมีประสบการณ์เป็นครั้งแรก ไวยากรณ์บอกเป็นอดีต แสดงความประสงค์ ด้วยตนเอง (Part ofSpeech: Verb ,Tense: Aorist ,Mood: Infinitive ,Voice: Active)
เปาโลแสดงเจตจำนงค์ของตนว่าต้องการรู้จักพระเยซูเป็นพิเศษผ่านการมีประสบการณ์ด้วยตนเองเป็นครั้งแรกกับพระเยซูในการคืนพระชนม์ในการมีส่วนร่วมในความทุกข์ในความตายและในการเป็นขึ้นจากตายด้วย
ทั้งนี้เปาโลหมายถึงเหตุการณ์ในอดีตเป็นช่วงเวลาที่พระเยซูถูกตรึงกางเขนพระองค์ทรงทุกข์ทรมานพระองค์สิ้นพระชนม์และเป็นขึ้นมาจากความตายเขาอยากมีประสบการณ์แบบนั้นและอยู่ในเวลานั้นกับพระองค์ด้วยเขาจะยิ่งเชื่อมั่นในพระเจ้ามากขึ้นและไม่มีส่ิงใดที่ทดแทนเทียบเท่ากับประสบการณ์เหล่านี้ในพระเยซูคริสต์ได้เลยแม้ตายก็ไม่กลัวนี่จึงเป็นเหตุที่เปาโลบอกให้พี่น้องชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าข้อ1 ก่อนที่จะฟังเปาโลมาจนถึงข้อ 10-11หากท่านต้องทนทุกข์จนต้องตายเพราะพระเยซูคริสต์อย่าว่าแต่ถูกขุมขังเลยดังนั้นถ้าท่านไม่กลัวความตายก็เพราะท่านได้รู้ความจริงของคุณค่าของพระคริสต์และท่านได้มีเป้าหมายอยู่เพื่อพระคริสต์ขาดทุนคือกำไร
ประยุกต์ใช้ มีความปรารถนามากขึ้นในการรู้จักพระเยซูคริสต์ ด้วยการเฝ้าเดี่ยว ด้วยการอธิษฐาน นมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริงมากกว่านมัสการตามพิธี หรือตามระบบ โดยชีวิตจิตใจ ด้วยการรับใช้ เพื่อมีความสัมพันธ์สนิทรู้จักพระองค์มากขึ้น
ศึกษาพระคัมภีร์มากขึ้นเพื่อจะรู้จักพระองค์ คิดถึงพระองค์เสมอ ผ่านการใคร่ครวญ ภาวนา
เป็นพยานประกาศถึงความดีของพระเจ้าที่เสียสละ เพื่อคนบาปอย่างเรา ได้รับความรอดเป็นคนชอบธรรม ดำเนินชีวิตรับใช้ผู้อื่น เหมือนพระคริสต์ที่รับใช้ทุกคนเพื่อหวังให้เขาได้รับความรอด
ไม่ต้องกลัวความตาย ไม่ต้องกลัวความยากลำบาก ไม่ต้องกลัวความทุกข์ยาก เพราะพระเจ้าจะช่วยเหลือ และปกป้องเราจนถึงที่สุด เป็นคนสัตย์ซื่อในการดำเนินชีวิตกับพระเจ้า
ให้เราร่วมใจกันอธิษฐาน
สนใจติดต่อเรา หรือเชิญให้เทศนา ให้สอนหรือให้อบรม
www.facebook.com/FORWARD.CH.TH
Email: actsministry2017@gmail.com
บรรณานุกรม
หนังสือภาษาไทย
กนกบรรณสาร. พระคัมภีร์ใหม่ ฉบับศึกษาคำกรีก และ พจนานุกรม กรีก-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร, 2005.
กนกบรรณสาร. ศัพท์สัมพันธ์ กรีก-ไทย และดัชนี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร, 2005.
ราฟ เอ แฮริ่ง. ศึกษาจดหมายฟีลิพพอย. แปลโดย ทอด ประทีปะเสน. กรุงเทพฯ: คณะแบ๊พติสต์แห่งประเทศไทย, 1969.
วิกสิต วีรสมิทธิ์. เปิดขุมทรัพย์แห่งความเปรมปรีดิ์ อรรถาธิบายพระธรรมฟีลิปปีของ ดร.มาร์ติน ลอยด์-โจนส์ โดยละเอียดแบบไทยๆ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร, 2000.
เอษรา โมทนาพระคุณ. ทำความเข้าใจภาษากรีก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร, 2005.
โรเบิร์ติ พี.ไลท์เนอร์ . กาลาเทีย- 2เธสะโลนิกา (ชุดBKC เล่มที่18 :
ฟีลิปปี). พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: ศูนย์ทีรันนัส(สำนักพิมพ์ จีพี), 1969.
หนังสือภาษาอังกฤษ
D.C. Flemming. The New Testament Speaks Volume 4 Galatians to Philemon. Manila: Living Books for All, 1976.
Gordon D. Fee. Philippians. IL: InterVarsity Press, 1999.
แหล่งที่มาอื่น ๆ
เดวิด ซอเรนสัน. “จดหมายฝากของเปาโลผู้เป็นอัครสาวกถึงคริสตจักรที่เมืองฟีลิปปี.” เข้าถึงได้จาก http://thaipope.org/sorenson/ 2007.
โทมัส แอล คอนสเตเบิล. ” บทความศึกษาพระธรรมฟีลิปปี ฉบับ 2016.” เข้าถึงได้จาก http://www.soniclight.com/thai/constable 2016.