อ.กิจขจร ลิ่วเฉลิมวงศ์

เทศนาคริสตจักรชีวิตรุ่งเรืองGLC (องค์การHIM)

อาทิตย์ที่ 2 ก.พ. 2020

อารักขา ตอนที่ 3

1คร9:17-23 อารักขาชีวิตและความสามารถเพื่อเป็นพระพร

1. ยินดีปรับตัวเพื่อเป็นพระพร (22-23)

2. ยินดีรับใช้เพื่อเป็นพระพร (17-18)

คำนำ

17เพราะถ้าข้าพเจ้าประกาศด้วยความสมัครใจ ก็จะได้บำเหน็จ แต่ถ้าไม่สมัครใจ ภารกิจนี้ก็ทรงมอบให้แล้ว 18แล้วบำเหน็จของข้าพเจ้าคืออะไร? ก็คือว่าในการประกาศข่าวประเสริฐนั้น ข้าพเจ้าประกาศโดยไม่คิดค่าจ้าง เพื่อจะไม่ต้องใช้สิทธิ์ในข่าวประเสริฐเต็มที่

19แม้ว่าข้าพเจ้าเป็นไทโดยไม่ได้อยู่ใต้ใคร ข้าพเจ้าก็ยังยอมเป็นทาสของทุกคน เพื่อจะได้คนมามากยิ่งขึ้น 20ต่อพวกยิวข้าพเจ้าก็เป็นเหมือนยิว เพื่อจะได้พวกยิวมา ต่อพวกที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ ข้าพเจ้าก็เป็นเหมือนคนอยู่ใต้ธรรมบัญญัติ (แต่ตัวข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ) เพื่อจะได้พวกที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัตินั้นมา 21ต่อพวกที่อยู่นอกธรรมบัญญัติข้าพเจ้าก็เป็นเหมือนคนนอกธรรมบัญญัติ (ข้าพเจ้าไม่ได้อยู่นอกพระบัญญัติของพระเจ้า แต่อยู่ใต้พระบัญญัติแห่งพระคริสต์) เพื่อจะได้พวกที่อยู่นอกธรรมบัญญัตินั้นมา 

22ต่อพวกคนอ่อนแอข้าพเจ้าก็เป็นคนอ่อนแอเพื่อจะได้พวกคนอ่อนแอมา ข้าพเจ้ายอมเป็นคนทุกแบบต่อทุกคน เพื่อช่วยบางคนให้รอดโดยทุกวิถีทาง 23ข้าพเจ้าทำทุกอย่าง เพราะเห็นแก่ข่าวประเสริฐเพื่อข้าพเจ้าจะได้มีส่วนในข่าวประเสริฐนั้น

เบื้องหลังของพระธรรม1คร9:ตอนนี้ .เปาโลเป็นอัครฑูตที่พระเจ้าแต่งตั้ง แต่ท่านรับใช้โดยไม่ได้หวังผลประโยชน์ โดยใช้อำนาจบังคับพี่น้องที่โครินธ์ แต่ท่านทำเพื่อให้คนได้รับความรอด โดยไม่ได้รับประโยชน์ต่างตอบแทนจากงานที่ทำ เพราะท่านตระหนักถึงการมีชีวิตเป็นผู้อารักขาของพระเจ้า

จากคำว่าแต่ถ้าไม่สมัครใจ ภารกิจนี้ (GK3622:oikonomia (n)

จริงๆแล้ว แปลว่า งานอารักขา

แต่อ.เปาโลใช้คำนี้ เป็นความรู้สึกเรื่อง ทำหน้าที่การปกครอง หน้าที่ทำงาน เพราะเปาโลวางใจในพระเจ้าผู้ทรงเป็นเจ้านาย ผู้ที่เขาประกาศไปยังคนอื่นเพื่อให้อวยพรเขาเหล่านั้นโดยข่าวประเสริฐ )

ก็ทรงมอบให้แล้ว(GK4100:pisteuó (v) ที่จะไว้วางใจให้รับมอบ(งานอารักขา)) 

วันนี้เราจึงมาเรียนรู้เรื่องนี้ ผ่านหัวข้อคำเทศนา

อารักขาชีวิตและความสามารถเพื่อเป็นพระพร

1. ยินดีปรับตัวเพื่อเป็นพระพร (22-23)

22ต่อพวกคนอ่อนแอข้าพเจ้าก็เป็นคนอ่อนแอเพื่อจะได้พวกคนอ่อนแอมา ข้าพเจ้ายอมเป็นคนทุกแบบต่อทุกคน เพื่อช่วยบางคนให้รอดโดยทุกวิถีทาง 23ข้าพเจ้าทำทุกอย่าง เพราะเห็นแก่ข่าวประเสริฐเพื่อข้าพเจ้าจะได้มีส่วนในข่าวประเสริฐนั้น

เปาโลยินดีปรับตัว เปลี่ยนชีวิต เพื่อคนต่างๆจะได้รับความรอดผ่านข่าวประเสริฐ ในความหมายแคบ แต่ในความหมายกว้าง เป็นการยินดีปรับตัวเพื่อเป็นพระพรกับคนให้รู้จักพระเจ้า ให้เปลี่ยนแปลงชีวิต และดำเนินชีวิตเป็นคนของพระเจ้า และนำคนอื่นมาถึงพระเยซูคริสต์

ชีวิตของผู้เชื่อกับข่าวประเสริฐเป็นเรื่องสำคัญ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันไม่สามารถที่จะแยกเรื่องชีวิตออกจากข่าวประเสริฐได้เลย

เรามาดูรายละเอียดของเรื่องยินดีปรับตัวเพื่อเป็นพระพรได้อย่างไร?

19แม้ว่าข้าพเจ้าเป็นไทโดยไม่ได้อยู่ใต้ใคร ข้าพเจ้าก็ยังยอมเป็นทาส (GK1402 : douloó (v) รับใช้ผู้อื่นอย่างเต็มที่ ตามความต้องการ รับใช้เหมือนเป็นทาสของเขา) ของทุกคน เพื่อจะได้คน(GK2770 :kerdainó (v)เพื่อมาเชื่อในพระเยซูคริสต์ ) มามากยิ่งขึ้น

หมายความว่า .เปาโลต้องถ่อมใจ รับใช้ ลงแรงกาย แม้ท่านไม่มีความจำเป็นต้องทำแต่ท่านก็ปรับตัว ยินดีทำเพื่อเป็นพระพร ให้คนมาเชื่อพระเยซูคริสต์

ประยุกต์ใช้ได้ว่า เราต้องลงแรงกาย ต้องทำเพื่อคนอื่นมากกว่าตนเอง

20ต่อพวกยิวข้าพเจ้าก็เป็น( GK1096 : ginomai (v) แสดงตัวเป็นเหมือนใครคนหนึ่งกับใครคนหนึ่ง ) เหมือนยิว เพื่อจะได้พวกยิวมา

หมายความว่า .เปาโลยินดีปรับตัว แสดงตัวเหมือนคนที่เขาต้องการให้มาเชื่อในพระเยซูคริสต์

ในตอนนี้น่าจะประยุกต์ได้ว่าถ้าอยากได้คนสัญชาติไหนมาเชื่อในพระเยซูคริสต์ เราก็ต้องแสดงตัวเหมือนชาติของเขา

ต่อพวกที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ ข้าพเจ้าก็เป็นเหมือนคนอยู่ใต้(GG5259: hupo (prep)อยู่ใต้อำนาจของ)ธรรมบัญญัติ (แต่ตัวข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ) เพื่อจะได้พวกที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัตินั้นมา

หมายความว่า .เปาโลยินดีปรับตัว สำหรับเรื่องความเชื่อทางศาสนาที่ท่านไม่ได้เชื่อ แต่ยอมปรับตัวเพื่อเห็นแก่คนที่เชื่อที่แตกต่างกับท่าน ตอนนี้ยิวกับคริสเตียนมีความเชื่อต่างกัน เรื่องธรรมบัญญัติ

ประยุกต์ใช้ได้ คริสเตียนต่างคณะนิกาย แต่เป็นคริสตจักรของพระเยซูคริสต์พระกายเดียวกันได้

21ต่อพวกที่อยู่นอก (GK459 : anomos (adj)คนต่างชาติ) ธรรมบัญญัติข้าพเจ้าก็เป็นเหมือน(GK5613 : hos (adv) สร้างการอ้างอิงถึงความคล้ายคลึงกันหรือความเท่าเทียมกัน)คนนอกธรรมบัญญัติ (ข้าพเจ้าไม่ได้อยู่นอกพระบัญญัติของพระเจ้า แต่อยู่ใต้พระบัญญัติแห่งพระคริสต์) เพื่อจะได้พวกที่อยู่นอกธรรมบัญญัตินั้นมา

หมายความว่า .เปาโลยินดีปรับตัว คล้ายคลึงหรือเท่าเทียม กับคนที่ไม่เชื่อพระเจ้า เพื่อต้องการนำเขาให้มาเชื่อในพระเยซูคริสต์ ไม่พยายามทำให้คนต่างชาติรู้สึกว่าอ.เปาโลสร้างความแตกต่างจากคนต่างชาติ หากความแตกต่างนั้นเป็นการทำให้เขาไม่มาเชื่อพระเจ้า ไม่ควรทำให้เกิดความแตกต่าง

ประยุกต์ใช้ได้ว่าสำหรับคนไม่มีความเชื่อหรือต่างศาสนา เราอย่าสร้างความแตกต่างที่ทำให้เกิดปัญหา จนทำให้เขาไม่มาเชื่อพระเจ้า

22ต่อพวกคนอ่อนแอข้าพเจ้าก็เป็นคนอ่อนแอเพื่อจะได้พวกคนอ่อนแอมา

หมายความว่า .เปาโลยินดีปรับตัว แสดงความรักในการยอมรับ คนที่มีทัศนาคติที่มีอคติ หรืออ่อนแอทางความเชื่อ มากกว่าตนเอง ตัวอย่าง

รม15:1-2 พวกเราซึ่งมีความเชื่อเข้มแข็ง ควรจะอดทนต่อข้อบกพร่องของคนที่อ่อนแอ ไม่ควรทำอะไรตามความพอใจของตัวเอง 2เราทุกคนจงทำให้เพื่อนบ้านพอใจ เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความเชื่อของเขา 

ในตอนนี้น่าจะประยุกต์ได้ว่าถ้าอยากได้คนอ่อนแอมาเชื่อในพระเยซูคริสต์ เราก็ต้องยอมรับความคิด ความเชื่อของเขา ไม่ใช่แสดงว่าความเชื่อของเราดีกว่าเขา แข็งแรงกว่า รวยกว่า เหนือกว่า เป็นต้น

ตัวอย่างเหมือนคนเราต้องยอมปรับตัว เปลี่ยนแปลง พัฒนาตนเอง ก็เพื่ออะไรซักอย่าง เพื่อใครซักอย่าง เพื่อความจริงซักอย่าง เพื่อคุณค่าของชีวิตซักอย่าง หลายคนต้องหัดเล่นมือถือ คอมพิวเตอร์ social media เพื่อติดต่อ เพื่อสัมพันธ์ เพื่อค้าขาย เพื่อติดตามข่าวสารได้

เราสามารถสรุปได้ว่าอ.เปาโล ยอมปรับตัวเพื่อเป็นพระพร เพราะท่านมี เป้าหมาย หรือต้องการผลลัพธ์ คือ เพื่อช่วยให้คนมากมาย (บางคน) ได้รับความรอด (22-23) 

22ต่อพวกคนอ่อนแอข้าพเจ้าก็เป็นคนอ่อนแอเพื่อจะได้พวกคนอ่อนแอมา ข้าพเจ้ายอมเป็นคนทุกแบบต่อทุกคน เพื่อช่วยบางคนให้รอดโดยทุกวิถีทาง 23ข้าพเจ้าทำทุกอย่าง เพราะเห็นแก่ข่าวประเสริฐเพื่อข้าพเจ้าจะได้มีส่วนในข่าวประเสริฐนั้น

.เปาโลรับใช้เพราะข่าวประเสริฐมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของท่านทั้งหมด ข่าวประเสริฐกำหนดทุกอย่างในชีวิตของท่าน อยู่เพื่อใคร อยู่เพื่ออะไร แต่งงานไหม ทำงานอะไร จะไปอยู่อาศัยที่เมืองไหน จะใช้เวลากับใคร จะยอมตายเพื่ออะไร อะไรเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดสำหรับชีวิต

เราไม่สามารถช่วยคนอื่นให้รอดได้ถ้าเราไม่รักษาชีวิต ไม่ใช้ความสามารถที่พระเจ้าในการช่วยเขา แต่เราอยากเห็นคนรับความรอดเราจะปรับตัว เราจะใช้ความสามารถ เราจะรักษาชีวิตของเราเพื่อช่วยคนอื่น

2. ยินดีรับใช้เพื่อเป็นพระพร (17-18)

17เพราะถ้าข้าพเจ้าประกาศด้วยความสมัครใจ ก็จะได้บำเหน็จ แต่ถ้าไม่สมัครใจ ภารกิจนี้ก็ทรงมอบให้แล้ว 18แล้วบำเหน็จของข้าพเจ้าคืออะไร? ก็คือว่าในการประกาศข่าวประเสริฐนั้น ข้าพเจ้าประกาศโดยไม่คิดค่าจ้าง เพื่อจะไม่ต้องใช้สิทธิ์ในข่าวประเสริฐเต็มที่

17เพราะถ้าข้าพเจ้าประกาศด้วยความสมัครใจ (GK1635:hekón (adj) ไม่มีการบังคับ อาสาสมัคร เต็มใจ สมัครใจด้วยตนเอง ด้วยความยินยอมของตนเอง)

ก็จะได้บำเหน็จ (GK3408:misthos (n) รางวัล เป็นผลที่มาจากการทำงานหนักและมีความพยายาม เป็นผลที่ได้รับตามธรรมชาติจากการรับใช้พระเจ้า บำเหน็จเป็นรางวัลจากเบื้องบนรอเราไปรับอยู่ )

แต่ถ้าไม่สมัครใจ ภารกิจนี้ (GK3622:oikonomia (n) จริงๆแปลว่า งานอารักขา แต่อ.เปาโลใช้คำนี้ เป็นความรู้สึกเรื่อง หน้าที่การปกครอง หน้าที่ทำงาน ที่เปาโลวางใจในพระเจ้าผู้ทรงเป็นเจ้านาย ผู้ที่เขาประกาศไปยังคนอื่นเพื่ออวยพรเขาโดยข่าวประเสริฐ )

ก็ทรงมอบให้แล้ว(GK4100:pisteuó (v) ที่จะไว้วางใจให้รับมอบ(งานอารักขา)) 

18แล้วบำเหน็จของข้าพเจ้าคืออะไร? ก็คือว่าในการประกาศข่าวประเสริฐนั้น ข้าพเจ้าประกาศโดยไม่คิดค่าจ้าง เพื่อจะไม่

ต้องใช้ (GK2710 : katachraomai (v) ใช้อย่างเต็มที่ )

สิทธิ์(GK1849 : exousia (n) อำนาจ เมื่อใช้กับความเป็นเจ้าของ คือ อำนาจของฉัน  เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีอำนาจตัดสินใจ ) ในข่าวประเสริฐเต็มที่

หมายความว่า .เปาโลมองว่า บำเหน็จ หรือรางวัลที่เขาได้รับคือ การที่เขาได้รับใช้เต็มที่ ไม่ได้มีผลประโยชน์หรือผลตอบแทนมาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจรับใช้ 

ถ้าเรามองในความหมายแคบๆของการรับใช้ คือ การประกาศข่าวประเสริฐ แต่ถ้าเรามองในความหมายกว้าง คือ การนำคนมาถึงพระเยซูคริสต์ และเติบโตจนไปนำคนอื่นมาถึงพระเยซูคริสต์ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม

เพราะในเมื่ออ.เปาโลท่านไม่ได้รับค่าจ้างเป็นผลตอบแทนในการรับใช้ ดังนั้นอ.เปาโลจึงไม่ได้เอาเรื่องค่าจ้าง มามีอำนาจเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการรับใช้หรือไม่รับใช้

การรับใช้พระเจ้า คือ รับใช้ด้วยชีวิต มีทั้งเต็มใจหรือไม่เต็มใจ มีทั้งใช้ความสามารถที่พระเจ้าให้ กับมีความสามารถแต่ไม่รับใช้พระเจ้า

ต้นแบบของอ.เปาโลคือ พระเยซูคริสต์ ยน10:15-18

15เหมือนอย่างที่พระบิดาทรงรู้จักเราและเรารู้จักพระบิดา และเราสละชีวิตเพื่อฝูงแกะ 16แกะอื่นที่ไม่ได้เป็นของคอกนี้เราก็มีอยู่ แกะพวกนั้นเราก็ต้องพามาด้วย และแกะพวกนั้นจะฟังเสียงของเราแล้วจะรวมเป็นฝูงเดียวและมีผู้เลี้ยงเพียงผู้เดียว 17เพราะเหตุนี้พระบิดาจึงทรงรักเรา เพราะเราสละชีวิตของเราเพื่อจะรับชีวิตนั้นคืนมาอีก 18ไม่มีใครชิงชีวิตไปจากเราได้ แต่เราสละชีวิตตามที่เราตั้งใจเอง เรามีสิทธิอำนาจที่จะสละชีวิตนั้นและมีสิทธิอำนาจที่จะรับคืนมาอีก คำกำชับนี้เราได้รับมาจากพระบิดาของเรา

.ยอห์น ก็หนุนใจให้ผู้เชื่อแสดงออกถึงความรักที่เราได้รับ และความรักที่มีต่อพระเจ้า ด้วยการเสียสละเพื่อผู้อื่น โดยมีพระเยซูคริสต์เป็นแบบอย่าง

1ยน3:16 เช่นนี้แหละเราจึงรู้จักความรัก โดยที่พระองค์ได้ยอมสละพระชนม์ของพระองค์เพื่อเรา และเราก็ควรจะสละชีวิตของเราเพื่อพี่น้อง

การรับใช้พระเจ้าต้องมีความสามารถด้วยนอกเหนือจาก มีชีวิตที่ดี

ท่าทีของเปาโลเขาเข้าใจความจริงเรื่องยินดีรับใช้เพื่อเป็นพระพร

(1)เพราะรู้ว่างานรับใช้พระเจ้ามอบหมายให้แล้วตั้งแต่เราเชื่อวางใจพระเยซูคริสต์ (17)

(2) งานรับใช้ที่พระเจ้ามอบหมาย คือ ให้เป็นผู้อารักขางานของพระเจ้า จะมีบำเหน็จให้กับผู้อารักขา (17) เมื่อเรารับใช้ด้วยความเต็มใจ

เมื่อเราเป็นผู้อารักขาชีวิตและความสามารถเพื่อรับใช้พระเจ้า เป็นพระพรกับผู้อื่น เราจะเห็นอัศจรรย์ของพระเจ้าเปลี่ยนแปลงทั้งชีวิตของเรา และคนที่เราประกาศ คนที่เราเลี้ยงดู คนที่เราร่วมรับใช้ด้วย ทำให้เรามั่นใจในความรอดในท้ายที่สุด

ตัวอย่าง มิชชั่นนารีเมื่อมาเริ่มงานพระเจ้าเขาไม่รู้หรอกว่าในท้ายที่สุดผลจะเป็นอย่างไร แต่มันจะเกิดผลดีในที่สุด

ปีนี้หมออายุ 69 การทำงานหนักและความชราภาพที่มาเยือนทำให้หมอล้มป่วยหนัก หลังจากทำงานเพื่อแผ่นดินไทยมาเกือบสี่สิบปี (รักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันผ่าตัด ปลูกฝี ,เป็นล่าม ,พัฒนาการพิมพ์, )

หมอบรัดเลย์ก็เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน .. 2416 สิริอายุ 69 ปี ศพฝังที่สุสานโปรเตสแตนท์ บนถนนเจริญกรุง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ( เสียชีวิตไปแล้ว 147 ปี )

หมอฝรั่งจากโลกไปโดยไม่มีทรัพย์สมบัติ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันของในหลวงรัชกาลที่ 5 บันทึกว่าให้ช่วยในการก่อขุดศพหมอปลัดเลที่เงินยังขาดอยู่ 120 บาท (ปัจจุบันประมาณ 80,000 บาท) ให้ทำรั้วเหล็กล้อมที่ฝังศพ 200 เหรียญ” (เป็นเงินปัจจุบันเทียบกับอัตราทองคำ 647.92 X 40 X 200 = 5,183,360 บาท )

แหม่มซาราห์ แบลกลี ไม่ได้กลับไปอเมริกาเลยตลอดชีวิต นางเสียชีวิตเมื่อ 16 สิงหาคม .. 2436 อายุ 75 ปี หลังจากใช้ชีวิตในสยามยาวนาน 43 ปี ลูกของนางทุกคนเดินทางกลับอเมริกา ยกเว้นลูกสาวชื่อไอรีน (แหม่มหลิน) ยังอยู่เมืองไทยจนแก่ สั่งเสียว่าหลังจากเสียชีวิตให้มอบที่ดินให้กองทัพเรือ

แดน บีช แบรดลีย์ เป็นมากกว่าหมอ เป็นผู้ปฏิรูปประเทศ เป็นผู้ให้ความรู้ เป็นผู้เปลี่ยนแปลงสยาม เป็นเข็มทิศสังคมไทย และที่สำคัญ เขาเป็นคนไทยด้วยหัวใจ คนต่างชาติบางคนเป็นคนไทยยิ่งกว่าคนไทย ฝังหัวใจในแผ่นดินไทย ฝังร่างกายบนแผ่นดินไทย

หากพระเจ้าคือความรัก หมอบรัดเลย์ก็ทำงานของพระเจ้าสำเร็จลุล่วง

วินทร์ เลียววาริณ (www.winbookclub.com) 18 พฤษภาคม 2562

คำถาม คือ เราจะอารักขาชีวิตและความสามารถเพื่อเป็นพระพรได้อย่างไร?

คำตอบ คือ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาชีวิต และเริ่มต้นรับใช้ร่วมกับพี่น้อง ร่วมกับคริสตจักร (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคน นอกเหนือจากสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานที่เรามีส่วนร่วมอยู่แล้วในคริสตจักร )

ข่าวประเสริฐที่เราได้รับพระพรในวันนี้มาจาก พระเยซูคริสต์ มาจากอัครฑูต มาจากสาวกมากมายที่ส่งต่อความเชื่อแห่งข่าวประเสริฐนี้มาถึงเรา พระเยซูคริสต์ผู้เป็นหัวใจแห่งข่าวประเสริฐได้มอบหมายงานนี้ให้ท่าน อารักขา เพื่อให้ท่านรับใช้พระองค์มาจากความรักที่มีต่อการเสียสละของพระองค์

ให้เราร่วมใจกันอธิษฐาน

สนใจติดต่อเรา หรือเชิญให้เทศนา ให้สอนหรือให้อบรม

www.facebook.com/FORWARD.CH.TH

Email: actsministry2017@gmail.com

บทความก่อนหน้านี้อารักขา ตอนที่ 2 มธ6:24 ความจริงเรื่องการเป็นผู้อารักขา(ต่อพระเจ้า)
บทความถัดไปลก11:1-4 อธิษฐานตามแบบอย่างพระเยซูคริสต์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่