ความตั้งใจในการเขียนบทเรียน  “วิถีคริสตชน”

สำหรับผู้อ่านสองกลุ่ม ได้แก่

1.ผู้เชื่อใหม่ เรียกว่า บทเรียน  “วิถีคริสต์”

นิยาม วิถีคริสต์” วิถี แปลว่า เส้นทาง คริสต์ คือ พระคริสต์ แปลรวมแล้วมีความหมายว่า แนวทางการดำเนินชีวิตเมื่อมาเชื่อพระเจ้า ผู้เชื่อรับการเปลี่ยนแปลงเป็นคนใหม่ ไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นวิธีการคิด วิธีการตัดสินใจ วิธีการตอบสนองต่อปัญหาต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ แต่เป็นคนเดิมที่ตายไปแล้วต่อบาป และกลายเป็นส่ิงใหม่ๆทั้งนั้น

“วิถีคริสต์ ไม่ใช่วิถีของพระเยซูคริสต์

แต่เป็นวิธีคิด แนวทางการดำเนินชีวิต”

ที่ไม่ใช่เกิดจากความรู้ หรือทักษะ หรือเกิดจากการฝึกฝน  แต่วิถีคริสต์เกิดมาจากการที่เราเป็น ไม่ใช่เราทำ เราเป็นคนที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงใหม่จากพระคริสต์ เราจึงดำเนินชีวิตตาม “วิถีคริสต์” (อ.ประยูร ลิมะหุตะเศรณี)

กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่สนใจอยากเชื่อพระเจ้า หรือเพิ่งรับเชื่อพระเจ้า

2.คริสเตียน เรียกว่า  บทเรียน “วิถีคริสตชน”

กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่ได้เชื่อพระเจ้าแล้ว ไม่ว่าจะสังกัดคณะนิกายใด หรือมีความเชื่อมาแล้วมากน้อยขนาดไหนก็ตาม

1. บทเรียน”วิถีคริสต์”

มีวัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เชื่อใหม่ได้ศึกษาเนื้อหาของพระคัมภีร์ และทำความเข้าใจ เนื้อหาได้อย่างง่าย โดยสามารถศึกษาผ่านการเฝ้าเดี่ยว (แบบA.C.T.S.)

การเฝ้าเดี่ยวแบบ A.C.T.S.

เริ่มจากการอ่านพระคัมภีร์เป็นบท อ่านเป็นตอน เพื่อให้ได้เนื้อหาและบริบท โดยยังไม่ต้องศึกษาศาสนศาสตร์หรือข้อพระคัมภีร์สนับสนุนมากมาย

ผู้เชื่อใหม่สามารถศึกษาด้วยตนเองก็ได้หรือ ให้ผู้เชื่อท่านอื่นแนะนำก็ได้ แต่หากต้องการศึกษาให้ลึกซึ้งมากขึ้นก็สามารถทำรายละเอียดเพิ่มเติมเนื้อหาได้ต่อไปในอนาคต

โดยมีข้อย่อย วิถีชีวิต 3 ข้อ เพื่อให้ผู้เชื่อใหม่ได้รู้ภาพรวมของชีวิตคริสเตียนที่มีลำดับความเติบโตฝ่ายวิญญาณ

1).“วิถีชีวิตธรรมิกชน”  เน้นให้รู้จักพระเจ้า ให้เชื่อพระเจ้า ให้กลับใจใหม่จากบาปมาหาพระเจ้า ดำเนินชีวิตในทางพระเจ้า ตามพระวจนะพระเจ้า รู้จักนมัสการพระเจ้า รู้จักการติดสนิทกับพระเจ้า มอบถวายแด่พระเจ้า และสำแดงพระคุณของพระเจ้า

(ดู Link:  วิถีชีวิตธรรมิกชน )

2).“วิถีชีวิตคริสเตียน” เน้นให้ชีวิตมีชัยชนะในพระเจ้า ชีวิตที่มีความสมดุล ชีวิตที่เต็มเปี่ยมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ชีวิตที่เป็นผู้อารักขาที่ดี ชีวิตที่มีสวัสดิภาพ ชีวิตที่เป็นแบบอย่าง และชีวิตที่เป็นสาวก

(ดูLink : วิถีชีวิตคริสเตียน )

3).“วิถีชีวิตผู้รับใช้” เน้นให้ชีวิตเป็นพระพร เป็นประโยชน์กับผู้อื่น เช่น ชีวิตที่สร้างสาวก ชีวิตแห่งการปรนนิบัติรับใช้ ชีวิตที่มีชัยชนะเหนือการข่มเหง ชีวิตที่เป็นนิมิต ชีวิตที่เป็นพระพรต่อคริสตจักร ชีวิตที่ส่งต่อความเชื่อ และชีวิตที่จบลงอย่างดี

(ดูLink : วิถีชีวิตผู้รับใช้ )

2.บทเรียน “วิถีคริสตชน”

มีวัตถุประสงค์

เน้นเนื้อหาเรื่องลักษณะชีวิต และการดำเนินชีวิตคริสเตียน เพื่อให้ผู้อ่านได้ตรวจสอบความเชื่อ ตรวจสอบความรู้ และตรวจสอบลักษณะชีวิตของตนว่าได้ดำเนินตามพวจนะสอนไว้หรือไม่ และเป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้าหรือไม่ ผ่านการศึกษาพระคัมภีร์อย่างเป็นระบบตามหลักการตีความพระคัมภีร์ ซึ่งเข้มข้นกว่าการเฝ้าเดี่ยว

สำหรับคริสตจักรต่างๆ ที่มีความสนใจบทเรียนนี้ ก็สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพบริบทของคริสตจักรท้องถิ่นได้ โดยให้คงโครงร่างหนังสือนี้เพื่อจัดเก็บบทเรียนเป็นระบบได้

คริสตจักรสามารถเพิ่มเติมเนื้อหาให้มีจำนวนบทเรียนเพิ่มมากขึ้น และอธิบายเนื้อหาเพิ่มมากขึ้นได้ จากพระธรรมตอนอื่นนอกเหนือจากที่ผู้เขียนเสนอไว้นี้ โดยขอให้เน้นเรื่อง “พระคริสต์ พระคำ พระคุณ”

สำหรับบทเรียน “วิถีคริสตชน” นี้มี 5 หัวข้อย่อย ดังนี้

1). ลักษณะชีวิตคริสเตียนที่ดำเนินชีวิต “ตามพระทัยพระคริสต์”  (ลักษณะชีวิตของผู้เป็นสุข มธ5:3-12)

2). ลักษณะชีวิตคริสเตียนที่ดำเนินชีวิต “ตามพระวจนะของพระคริสต์” (ลักษณะชีวิตผู้ที่ตอบสนองพระวจนะ ลก8:11-15)

3). ลักษณะชีวิตคริสเตียนที่ดำเนินชีวิต “สัมพันธ์สนิทกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระคริสต์” (ชีวิตที่มีผลพระวิญญาณบริสุทธิ์ กท5:22-25)

4).ลักษณะชีวิตคริสเตียนที่ดำเนินชีวิต “สัมพันธ์สนิทกับคริสตจักรของพระคริสต์” (ชุมชนของพระเจ้า),(ลักษณะคริสตจักรทั้งเจ็ด วว2:1-3:22)

5). ลักษณะชีวิตคริสเตียนที่ดำเนินชีวิต “สัมพันธ์สนิทกับพระคริสต์” (ผ่านชีวิตการอธิษฐาน ลก11:1-4)

บทความก่อนหน้านี้1คร2:9-15 ขอพระเจ้าทรงสำแดงความจริงให้เราเข้าใจพระองค์
บทความถัดไป1ยน5:1-3 เกิดโดยพระคริสต์ ชีวิตโดยพระคำ

2 ความคิดเห็น

  1. บริบทผู้นำคริสตจักร,บริบทคนในชุมชนคริสตจักรมีผลต่อวิถีชีวิตผู้เชื่อทั้งเป็นบวกและเป็นลบ
    บทเรียนแนวทางข้างต้นผมอยากให้มองความคิดพระเยซูดินดี3ระเบครับคือ30,60,100
    แม้เป็นผู้เชื่อใหม่,ผู้เชื่อเก่า,ผู้รับใช้ ผมอยากให้ครอบคลุมครับ

    • ขอบคุณครับอาจารย์ เดี๊ยวปรับเพิ่มให้ครอบคลุมตามที่กรุณาแนะนำครับ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่