โดย อ.กิจขจร ลิ่วเฉลิมวงศ์ วันที่ 1 มี.ค.2025

ภาพรวมบทที่ 7

แนะนำภาพรวมและความคาดหวังต่อบทเรียนนี้ (5นาที)

1.เพื่อให้เราตั้งใจดำเนินชีวิตที่ไม่สร้างปัญหาความแตกแยกหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นในคริสตจักร 

2.เพื่อให้เราดำเนินชีวิตไม่ผิดพลาดเพื่อไม่ต้องรับผลจากการกระทำผิดของตนเองไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูกกระทำหรือเป็นฝ่ายมีสิทธิอันชอบธรรมในการแก้แค้นลงโทษหรือเอาผิดผู้อื่นได้ 

1.สำรวจข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง รม12:19 (10 นาที) 

นี่แน่ะ ท่านผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า อย่าแก้แค้น แต่จงมอบการนั้นไว้ แล้วแต่พระเจ้าจะทรงลงโทษ เพราะมีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า “การแก้แค้นเป็นของเรา เราเองจะตอบแทน

2.สรุปหลักการ (5นาที)

รม12:1-21 เปาโลได้แนะนำการดำเนินชีวิตในคริสตจักร หลังจากผู้เชื่อได้มอบถวายตัวเป็นเครื่องบูชาอันบริสุทธิ์ที่มีชีวิตแด่พระเจ้า แต่อาจจะมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับพี่น้อง มีการสะดุดกันและกัน มีความแตกแยกในชุมชน หรือแม้กระทั่งผู้เชื่ออาจโดนกระทำอย่างไม่ยุติธรรมจากผู้เชื่อและผู้ไม่เชื่อ และเขาอยากแก้แค้นด้วยตนเองบ้าง แต่เปาโลหนุนใจให้ทำดี ให้แสดงความรัก โดยหนุนใจให้การแก้แค้น หรือการตอบแทนนั้น ขอให้พระเจ้าเป็นคนตอบแทน 

การตอบแทน  ( GK467 ) หมายถึง การจ่ายคืน การตอบแทนคืน การให้กลับคืนไป การแสดงผลให้เห็น ใช้ได้ทั้งความหมายในแง่บวก และความหมายในแง่ลบ ต้องดูที่บริบทประกอบด้วย แตกต่างจากคำว่า “บำเหน็จ” ส่วนใหญ่ให้ความหมายในแง่บวกมากกกว่าแง่ลบ

(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Link : https://biblehub.com/commentaries/romans/12-19.htm)

(อ่านเพิ่มเติม https://biblehub.com/greek/467.htm)

3.คำถามเพื่อการอภิปราย (10 นาที)

1.ทำไมพระเจ้าถึงไม่ให้คริสเตียนแก้แค้น แต่พระเจ้าจะแก้แค้นแทนเราเอง ทำไมเราแก้แค้นไม่ได้ แต่พระเจ้าแก้แค้นแทนเราได้

2.พระเจ้าเป็นห่วงผู้เชื่อที่ต้องรับบทลงโทษจากการแก้แค้นหรือไม่ (อาจจะตามกฎหมายหรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิต) หรือว่าพระเจ้าเป็นห่วงพระนามของพระเจ้าจะได้รับความเสียหายท่านคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริง

3.การที่พี่น้องคริสเตียนในคริสตจักรมีการคิดแก้แค้นกันและกันทำให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียหายหรือต้องเจ็บปวดเสียใจ มีความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ท่านในฐานะศิษยาภิบาลของคริสตจักรมีแนวทางอภิบาลให้เป็นไปตามหลักการพระคัมภีร์ได้อย่างไรบ้าง

4.การนำไปใช้ในภาคปฎบัติ (10 นาที)

1.ท่านคิดว่าชีวิตส่วนตัวของท่านเมื่อได้รับความไม่ยุติธรรม ความยากลำบาก หรือถูกกระทำให้รับความเดือดร้อน พระคัมภีร์ในตอนนี้หนุนใจให้ท่านตอบสนองอย่างไร ท่านสามารถทำได้จริง ๆ หรือไม่ มีอะไรช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้ตามที่พระวจนะหนุนใจเราไว้ 

2.ท่านเห็นด้วยกับพระวจนะที่นอกจากไม่ให้แก้แค้นแล้วยังให้ทำดีตอบแทนด้วย ท่านปฎิบัติตามได้หรือไม่

รม12:20-21แต่ว่า “ถ้าศัตรูของท่านหิวจงให้อาหารเขารับประทานถ้าเขากระหายน้ำก็จงให้น้ำเขาดื่มเพราะว่าการทำเช่นนั้นจะทำให้เขารู้สึกตัวและกลับมาคืนดี” 21อย่าให้ความชั่วชนะเราได้แต่จงชนะความชั่วด้วยความดี

รูปแบบและระยะเวลาการอภิปรายในกลุ่มวาระเปรมปรีดิ์ 

1) ใช้บทเรียนเพื่อการอภิปราย  1 ครั้ง ใช้เวลา 40 นาที  สมาชิกทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการอภิปรายตามบทเรียน

2) ให้ส่งบทเรียนล่วงหน้า 1 สัปดาห์ให้ผู้เข้าร่วมเพื่อไปศึกษามาก่อนการอภิปรายหรือก่อนมานำกลุ่มก็ได้

3) อาจจะมีผู้นำการอภิปรายเป็นประจำก็ได้หรือสมาชิกในกลุ่มมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาเป็นผู้นำการอภิปรายก็ได้ไม่ได้เน้นสอนความรู้ บทเรียนครอบคลุม 4 ด้าน เพื่อให้สมาชิกร่วมอภิปรายจะได้รับความสมดุลในแต่ละด้านของพระคัมภีร์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้

4) บทเรียน RENEW  หมายถึง บทเรียนที่นำสมาชิกกลุ่มให้ทำสิ่งเดิมให้ดีขึ้น หรือทำสิ่งเดิมให้ใหม่ขึ้น

5) บทเรียน REFRESH หมายถึง บทเรียนที่มีการเสริมสร้าง การเพิ่มความสดใหม่ ให้กับสมาชิกกลุ่ม

6) บทเรียน REWARD หมายถึง บทเรียนที่ทำให้ตระหนักถึงผลดีที่จะได้รับ ผลดีที่จะเกิดขึ้น เมื่อนำสิ่งที่เรียนรู้ในกลุ่มปัญญาจารย์ไปปฎิบัติ

7) บทเรียน RELEASE หมายถึง บทเรียนที่ครอบคลุมเรื่องการไปเกิดผลในการรับใช้ เมื่อได้รับการปลดปล่อยความสามารถ ปลดปล่อยศักยภาพ ปลดปล่อยภาระใจ 

ให้เราร่วมใจกันอธิษฐาน

สนใจติดต่อเรา หรือเชิญให้เทศนา ให้สอนหรือให้อบรม

www.facebook.com/FORWARD.CH.TH

Email: actsministry2017@gmail.com

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่